แผนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงการต่างประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)

แผนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงการต่างประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)

วันที่นำเข้าข้อมูล 20 ก.ค. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 21,844 view

๑. หลักการและเหตุผล

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๙/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐกำหนดมาตรการหรือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งเน้นการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน ดังนี้

ข้อ ๑ ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ กำหนดมาตรการหรือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ โดยมุ่งเน้นการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง เพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบได้

ข้อ ๒ ในกรณีที่มีการกล่าวหาหรือพบเหตุอันควรสงสัยว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบ ทั้งในฐานะตัวการ ผู้ใช้ หรือ          ผู้สนับสนุน ให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล โดยให้บังคับใช้มาตรการทางวินัย มาตรการทางปกครอง และมาตรการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาดและรวดเร็ว

ข้อ ๓ ในกรณีการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ อย่างเคร่งครัด

ข้อ ๔ กรณีที่หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้บังคับบัญชาปล่อยปละละเลย ไม่ดำเนินการตามข้อ ๒ และข้อ ๓ ให้ถือเป็นความผิดวินัยหรือความผิดทางอาญาแล้วแต่กรณี

ข้อ ๕ ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ดำเนินการแสวงหา รวบรวม และดำเนินการอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการที่จะทราบรายละเอียดและพิสูจน์เกี่ยวกับการทุจริต รวมทั้งติดตาม เร่งรัดผลการดำเนินงานตามข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ และรายงานผลการปฏิบัติ พร้อมทั้งเสนอความเห็นให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบและพิจารณาอย่างต่อเนื่อง

๑.๒ นโรัฐบาลของ เอกปยุทธ์ จัร์โอชา  ซึ่งได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ ข้อ ๑๐.๕ ให้ใช้มาตรการทางกฎหมาย การปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมและจิตสำนึกในการรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการและความซื่อสัตย์สุจริต ควบคู่กับการบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างเคร่งครัด ยกเลิก หรือแก้ ไขกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น สร้างภาระแก่ประชาชนเกินควร หรือเปิดช่องโอกาสทุจริต เช่น ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง การอนุญาต อนุมัติ และการขอรับบริการจากรัฐ ซึ่งมีขั้นตอนที่ยืดยาว ใช้เวลานาน ซ้ำซ้อน และเสียค่าใช้จ่ายทั้งของภาครัฐและประชาชน โดยถือว่าเรื่องนี้เป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติ และเป็นเรื่องที่ต้องแทรกอยู่ในการปฏิรูปทุกด้าน

๑.๓ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๖ : การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาลในสังคมไทย กำหนดเป้าหมาย “เพิ่มระดับคะแนนของดัชนีการรับรู้การทุจริตสูงกว่าร้อยละ ๕๐ เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒”

๑.๔ นักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (...) ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ขึ้น กำหนดเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ “ยกระดับคะแนนของดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) สูงกว่าร้อยละ ๕๐” มุ่งสู่เป้าหมาย “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต (Zero Tolerance & Clean Thailand)” เมื่อสิ้นสุดแผนยุทธศาสตร์ชาติฯ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยกำหนดให้มีการดำเนินงานใน ๖ ยุทธศาสตร์ ดังนี้

                   ยุทธศาสตร์ที่ ๑        สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต

                   ยุทธศาสตร์ที่ ๒        ยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านการทุจริต

                   ยุทธศาสตร์ที่ ๓        สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย

                   ยุทธศาสตร์ที่ ๔        พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก

                   ยุทธศาสตร์ที่ ๕        ปฏิรูปกลไกและกระบวนการการปราบปรามการทุจริต

                   ยุทธศาสตร์ที่ ๖        ยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ของประเทศไทย

๑.๕ ศูย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงการต่างประเทศ (ปท. วงการต่างประเทศ) ได้จัดทำแผนปฏิบัติการการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กระทรวงการต่างประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) นี้ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการ ศปท. กระทรวงการต่างประเทศ ในระยะ ๔ ปี ข้างหน้า ภายใต้บริบทจากแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) ของสำนักงาน ป.ป.ช. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๙/๒๕๕๗ นโยบายรัฐบาลของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ และเพื่อพัฒนาการบริหารและการบริการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการต่างประเทศให้มีความโปร่งใส ข้าราชการและเจ้าหน้าที่มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงาน

๒. วิสัยทัศน์

องค์กรนำในการขับเคลื่อนนโยบายการต่างประเทศไทยเพื่อผลประโยชน์ของชาติ”

๓. พันธกิจ

๓.๑. เป็นตัวแทนรัฐบาลในการประชุมและการเจรจาระหว่างประเทศ ปกป้อง รักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของไทยในเวทีทวิภาคี พหุภาคี และมีส่วนร่วมในการกำหนดบรรทัดฐานระหว่างประเทศ

๓.๒ เป็นองค์กรที่กำกับดูแลนโยบายการต่างประเทศในภาพรวม ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ นโยบาย และกลยุทธ์ด้านการต่างประเทศ ตลอดจนกฎหมายระหว่างประเทศแก่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย

๓.๓ คุ้มครอง ส่งเสริม และดูแลสิทธิและผลประโยชน์อันชอบธรรมของคนไทยในต่างประเทศ ตลอดจนการให้บริการแก่ประชาชนด้านการกงสุล

๓.๔ นำองค์ความรู้จากต่างประเทศ มาตรฐานสากล และบรรทัดฐานระหว่างประเทศมาช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย

๓.๕ เสริมสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีของไทยในต่างประเทศและเวทีระหว่างประเทศ

๓.๖ ดำเนินงานเกี่ยวกับพิธีการและระเบียบแบบแผนสากลเพื่อสนับสนุนงานด้านการต่างประเทศ

๓.๗ ส่งเสริมและดำเนินงานด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี

๓.๘ สร้างองค์ความรู้ด้านการต่างประเทศ และให้ความรู้ความเข้าใจด้านการต่างประเทศต่อภาคส่วนต่าง ๆ และสาธารณชนไทย

๓.๙ บูรณาการภารกิจด้านการต่างประเทศกับทุกภาคส่วน

๓.๑๐ พัฒนาองค์กรให้มีความพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล

๔. ค่านิยม

๔.๑ สร้างสรรค์และเปิดกว้าง (Constructive) มีความคิดริเริ่ม ทำงานอย่างสร้างสรรค์ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีความพร้อมที่จะปรับตัว

๔.๒ รับผิดชอบ (Accountable) รับผิดชอบต่อหน้าที่และองค์กร ทำงานด้วยความเสียสละ อดทน ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และตรวจสอบได้

๔.๓ พึ่งพาได้ (Reliable) มีความน่าเชื่อถือ เป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจของประชาชนและหน่วยงานอื่น ๆ ในด้านการต่างประเทศ

๔.๔ มุ่งผลสัมฤทธิ์และความเป็นเลิศ (Excellent) มีความเป็นมืออาชีพ มุ่งมั่นทำงานให้มีผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ มั่นคงในหลักการ ยึดถือจริยธรรม และมีความเป็นธรรม

๕. วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผน

๕.๑ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรของกระทรวงฯ ให้คำนึงถึงสาธารณประโยชน์มากกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่ยึดติดกับระบบทุนนิยม อันเป็นการวางรากฐานในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๕.๒ เพื่อให้เครือข่ายจากทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและตรวจสอบการทุจริต

๕.๓ เพื่อเสริมสร้างให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องมือการป้องกันและต่อต้านการทุจริต

๕.๔ เพื่อสร้างเสริมการจัดการองค์ความรู้ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างทั่วถึง

๖. เป้าหมาย (ของการจัดทำแผน)

ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการต่างประเทศมีคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และยึดประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน

๗. ตัวชี้วัด/่าเป้าหมาย

          - ร้อยละของโครงการ/กิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติการการป้องกันและปราบปรามการทุจริต    

          - ผลคะแนนระดับคุณธรรมและความโปร่งใสการดาเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)

๘. การติดตามผล

          กำหนดให้มีการติดตามประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ เมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น ๆ

โดยสามารถดูรายละเอียดเอกสารที่เกี่ยวข้องตามไฟล์ที่แนบมาด้านล่างนี้

 

เอกสารประกอบ

other-20180720-114557-193443.pdf