แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2560-2564

แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2560-2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 27 ส.ค. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 11,324 view

๑. หลักการและเหตุผล

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เห็นชอบแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔) ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนแม่บทฯ ไปปฏิบัติ โดยมีวิสัยทัศน์ “สังคมไทยมีคุณธรรมภายใต้หลักธรรมทางศาสนา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวิถีวัฒนธรรมอันดีงาม และอยู่ร่วมกันด้วยสันติสุขในประเทศไทย ประชาคมอาเซียน และประชาคมโลกอย่างยั่งยืน” เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๗๗) ที่ส่งเสริมให้นำศาสนา วัฒนธรรม และความเป็นไทยมาสร้างสรรค์ให้ประเทศและประชาชนมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสอดคล้องกับทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ที่ได้ระบุถึงสภาพสังคมไทยด้านธรรมาภิบาลไว้ว่า ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องธรรมาภิบาลอย่างเร่งด่วน                 

แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติฯ เป็นกลไกที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมบนพื้นฐานของความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาชีพ ภาคสื่อมวลชน และภาคประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์ ๔ ประการ ได้แก่

(๑) เพื่อวางระบบรากฐานการเสริมสร้างคุณธรรมในสังคมไทย

(๒) เพื่อสร้างความเข้มแข็งในระบบการบริหารจัดการด้านการส่งเสริมคุณธรรมให้เป็นเอกภาพ

(๓) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมคุณธรรม และ

(๔) เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นแบบอย่างด้านคุณธรรมในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก

โดยมีแนวทางการดำเนินงานให้ทุกหน่วยงานร่วมเสนอแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมเพื่อเชื่อมโยงกับแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ มีการกำกับติดตามประเมินผลในภาพรวมของประเทศโดยคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ซึ่งจะรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการกำกับติดตามประเมินผลในระดับกระทรวงและจังหวัด โดยใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีของหน่วยงานในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ภายใต้แผนแม่บทฯ              

กระทรวงการต่างประเทศเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนนโยบายต่างประเทศเพื่อรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในทุกมิติ ทั้งในระดับทวิภาคี พหุภาคี อนุภูมิภาคและภูมิภาค ในมิติด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม โดยบุคลากรในองค์กรเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน ดังนั้น การส่งเสริมให้บุคลากรในองค์การเป็นผู้ดำรงตนภายใต้หลักคุณธรรมจริยธรรม จะช่วยสร้างสรรค์คุณประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของกระทรวงการต่างประเทศ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน

กระทรวงการต่างประเทศจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมของกระทรวงการต่างประเทศ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) โดยยึดแนวทางการส่งเสริมคุณธรรมตามแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติฯ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมสู่การพัฒนาบุคลากรของกระทรวงการต่างประเทศในทุกระดับและทุกพื้นที่ เพื่อให้การขับเคลื่อนคุณธรรมของประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันจะส่งผลให้ “กระทรวงการต่างประเทศ มุ่งสู่การเป็นองค์กรคุณธรรมบนพื้นฐานความเป็นไทย”  ซึ่งจะส่งผลให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายการต่างประเทศไทยเพื่อผลประโยชน์ของชาติได้อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน

๒. โครงสร้างและอัตรากำลังของส่วนราชการและหน่วยงานในกำกับ

     ๒.๑ หน่วยงานในกำกับดูแล ประกอบด้วย

           ๑)   สำนักงานปลัดกระทรวง

           ๒)   กรมการกงสุล

           ๓)   กรมพิธีการทูต

           ๔)   กรมยุโรป

           ๕)   กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

           ๖)   กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย

           ๗)   กรมสารนิเทศ

           ๘)   กรมองค์การระหว่างประเทศ

           ๙)   กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้

         ๑๐) กรมอาเซียน

         ๑๑) กรมเอเชียตะวันออก

         ๑๒) กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา

         ๑๓) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

         ๑๔) สำนักงานในต่างประเทศ ประกอบด้วย สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ คณะผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติ คณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย รวม ๙๙ แห่ง

     ๒.๒ อัตรากำลัง              

            ณ วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๑  กระทรวงการต่างประเทศมีจำนวนข้าราชการทั้งหมด ๑,๕๕๖ คน  ประกอบด้วย ข้าราชการสายการทูต ๑,๐๒๗ คน (๖๖%) และข้าราชการสายสนับสนุน ๕๒๙ คน (๓๔%)  โดยเป็นข้าราชการที่ปฏิบัติงานในประเทศ ๙๖๑ คน และต่างประเทศ ๕๙๕ คน

 วิสัยทัศน์

    “องค์กรนำในการขับเคลื่อนนโยบายการต่างประเทศไทยเพื่อผลประโยชน์ของชาติ”

๔. พันธกิจ

      ๑) เป็นตัวแทนรัฐบาลในการประชุมและการเจรจาระหว่างประเทศ ปกป้อง รักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของไทยในเวทีทวิภาคี พหุภาคี และมีส่วนร่วมในการกำหนดบรรทัดฐานระหว่างประเทศ

      ๒) เป็นองค์กรที่กำกับดูแลนโยบายการต่างประเทศในภาพรวม ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ นโยบาย และกลยุทธ์ด้านการต่างประเทศ ตลอดจนกฎหมายระหว่างประเทศแก่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย

      ๓) คุ้มครอง ส่งเสริม และดูแลสิทธิและผลประโยชน์อันชอบธรรมของคนไทยในต่างประเทศ ตลอดจนการให้บริการแก่ประชาชนด้านการกงสุล

      ๔) นำองค์ความรู้จากต่างประเทศ มาตรฐานสากล และบรรทัดฐานระหว่างประเทศมาช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย

      ๕) เสริมสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีของไทยในต่างประเทศและเวทีระหว่างประเทศ

      ๖) ดำเนินงานเกี่ยวกับพิธีการและระเบียบแบบแผนสากลเพื่อสนับสนุนงานด้านการต่างประเทศ

      ๗) ส่งเสริมและดำเนินงานด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี

      ๘) สร้างองค์ความรู้ด้านการต่างประเทศ และให้ความรู้ความเข้าใจด้านการต่างประเทศต่อภาคส่วนต่าง ๆ และสาธารณชนไทย

      ๙) บูรณาการภารกิจด้านการต่างประเทศกับทุกภาคส่วน

    ๑๐) พัฒนาองค์กรให้มีความพร้อมในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล

๕. ค่านิยม

      ๑) สร้างสรรค์และเปิดกว้าง (Constructive) มีความคิดริเริ่ม ทำงานอย่างสร้างสรรค์ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีความพร้อมที่จะปรับตัว

      ๒) รับผิดชอบ (Accountable) รับผิดชอบต่อหน้าที่และองค์กร ทำงานด้วยความเสียสละ อดทน ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และตรวจสอบได้

      ๓) พึ่งพาได้ (Reliable) มีความน่าเชื่อถือ เป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจของประชาชนและหน่วยงานอื่น ๆ ในด้านการต่างประเทศ

      ๔) มุ่งผลสัมฤทธิ์และความเป็นเลิศ (Excellent) มีความเป็นมืออาชีพ มุ่งมั่นทำงานให้มีผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ มั่นคงในหลักการ ยึดถือจริยธรรม และมีความเป็นธรรม

๖. เป้าประสงค์ ประเด็นยุทธศาสตร์ ของกระทรวงการต่างประเทศ

    ๖.๑ เป้าประสงค์

          เสริมสร้างสถานะเชิงยุทธศาสตร์และผลประโยชน์ของไทย             

    ๖.๒ ประเด็นยุทธศาสตร์

                   ยุทธศาสตร์ที่ ๑ : ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

                   ยุทธศาสตร์ที่ ๒ : ส่งเสริมบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน

                   ยุทธศาสตร์ที่ ๓ : เสริมสร้างสถานะความสัมพันธ์กับประเทศยุทธศาสตร์

                   ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : ผลักดันบทบาทไทยที่สร้างสรรค์และรับผิดชอบเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก

                   ยุทธศาสตร์ที่ ๕ : ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

                   ยุทธศาสตร์ที่ ๖ : เสริมสร้างภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่นและทัศนคติที่ดีต่อไทย

                   ยุทธศาสตร์ที่ ๗ : ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและพัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชน

                   ยุทธศาสตร์ที่ ๘ : พัฒนาขีดความสามารถขององค์กร

๗. แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔

          ในการจัดทำแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) กระทรวงการต่างประเทศ ได้ใช้แนวทางและมาตรการตามแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔) ซึ่งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ ดังนี้

          ยุทธศาสตร์ที่ ๑ วางระบบรากฐานการเสริมสร้างคุณธรรมในสังคมไทย

                             กลยุทธ์ ๑.๑  วางระบบรากฐานการเสริมสร้างคุณธรรมของสถาบันเศรษฐกิจ

          ยุทธศาสตร์ที่ ๒ สร้างความเข้มแข็งในระบบการบริหารจัดการด้านการส่งเสริมคุณธรรมให้เป็นเอกภาพ

                             กลยุทธ์ ๒.๑  พัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ทำหน้าที่ในการส่งเสริมคุณธรรม

                             กลยุทธ์ ๒.๒  เสริมสร้างความเป็นเอกภาพในสังคมไทยด้วยคุณธรรม

          ยุทธศาสตร์ที่ ๓ สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมคุณธรรม

                             กลยุทธ์ ๓.๑  สร้างและขยายเครือข่ายการขับเคลื่อนคุณธรรมในทุกภาคส่วน

กลยุทธ์ ๓.๒  ใช้มาตรการทางด้านการเงิน และการคลังในการส่งเสริมเครือข่ายคุณธรรม

          ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นแบบอย่างด้านคุณธรรมในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก

                             กลยุทธ์ ๔.๑  เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประชาคมอาเซียนในด้านการอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทรแบ่งปันและมีจิตสาธารณะ

                             กลยุทธ์ ๔.๒  เสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพความมั่นคงและความยั่งยืนของภูมิภาคอาเซียนด้วยคุณธรรม

                             กลยุทธ์ ๔.๓  เสริมสร้างคุณธรรมและความร่วมมือระหว่างประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกในการตระหนักและรักษาความสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๘. วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมระดับชาติ

     ๑. เพื่อวางระบบรากฐานการเสริมสร้างคุณธรรมในกระทรวงการต่างประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ และแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติฉบับที่ ๑

     ๒. เพื่อสร้างความเข้มแข็งในระบบการบริหารจัดการด้านการส่งเสริมคุณธรรมในระดับกระทรวง

     ๓. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมคุณธรรมกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

     ๔. เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นแบบอย่างด้านคุณธรรมในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก

๙. ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

     - ร้อยละของโครงการ/กิจกรรมตามเป้าหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จ

     - ร้อยละของความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม

     - จำนวนภาคีเครือข่ายคุณธรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร

๑๐. การติดตามประเมินผล

       กำหนดให้มีการติดตามประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดำเนินการตามแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ เมื่อสิ้นปีงบประมาณนั้น ๆ

สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวง ของกระทรวงการต่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม ของกระทรวงการต่างประเทศ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ตามเอกสารแนบด้านล่าง

เอกสารประกอบ

other-20180829-135234-704003.pdf
แผนปฏิบัติการป้องกันฯ_2561.pdf
other-20181218-141946-399796.pdf