7,869 view

โครงสร้างอำนาจหน้าที่

 

การแบ่งโครงสร้างภายในศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) ระดับกระทรวง ของกระทรวงการต่างประเทศ

          มีรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กลุ่มภารกิจส่งเสริมกิจการต่างประเทศเป็นหัวหน้า ศปท. มีเอกอัครราชทูตประจำกระทรวงเป็น
รองหัวหน้า ศปท. และมีข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงเป็นผู้ปฏิบัติงานทั้งใน (๑) กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม และ (๒) กลุ่มงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

 

อำนาจหน้าที่ของ ศปท. กระทรวงการต่างประเทศ 

           ๑. เสนอแนะต่อปลัดกระทรวงเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสังกัด ประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตรการบริหารความเสี่ยงเพื่อลดและปิดโอกาสการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้าน
การทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของส่วนราชการดังกล่าว ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติและนโยบายของรัฐบาลเสนอต่อปลัดกระทรวง

           ๒. เร่งรัดและกำกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของส่วนราชการในสังกัด

           ๓. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการฝ่าฝืนจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการในสังกัด และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงาน เร่งรัด และติดตามจนได้ข้อยุติ

           ๔. ติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และจัดทำรายงานการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของส่วนราชการในสังกัด เสนอต่อปลัดกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

           ๕. ประสานความร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชนที่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรีเกี่ยวกับข้อมูลการจัดทำและการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม รวมทั้งการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรม ตลอดจนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานดังกล่าว เพื่อเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อปลัดกระทรวงในการจัดทำรายงานต่อรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชนดังกล่าวต่อไป

           ๖. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย

 

**********************

 

Structure, Power and Duties of the Anti-Corruption Operation Center

               The Anti-Corruption Operation Centre has the Deputy Permanent Secretary responsible for missions on foreign affairs promotion as the chief, and the Ambassador Attached to the Ministry as the deputy chief of the Anti-Corruption Operation Centre. Government officers in the Office of the Permanent Secretary have also been appointed as practitioners in the 1) Ethics Protection Unit and 2) Prevention and Suppression of Corruption and Misconduct Unit.

                The power and duties of the Anti-Corruption Operation Center are as follows:

                1. Advise the Permanent Secretary on prevention and suppression of corruption and misconduct in the organisation. Evaluate the risk and build the measure to reduce the chance for corruption and misconduct. This also entails defining prevention and suppression of corruption and misconduct action plan, and also promoting morality and ethics of the organisation in conformity with national anti-corruption strategies, prevention and anti-corruption measures in government sector and relevant government policies and submitting such action plan to the Permanent Secretary.

                2. Coordinate, expedite and supervise administrative units within the Ministry to implement the prevention and suppression of corruption and misconduct action plan of the Ministry.

                3. Action relevant to the law on ethical standards and the Civil Service Code of Ethics. Receive complaints against officials in the Ministry involving corruption, malpractice or failing to perform the duties, which shall be forwarded to the relevant public administrative unit and agency, and also include coordinate, expedite and follow up until reaching a resolution.

                4. Monitor, evaluate, report on prevention and suppression of corruption and misconduct in the organisation and the promotion of ethics and submit the report to the Permanent Secretary and relevant agency.

                5. Coordinate with state enterprises or public organisations under the supervision of the Minister regarding of information to implement the action plans related to anti-corruption and misconduct and promoting morality and ethics. Also, implementation in according to the law on ethical standards and the Civil Service Code of Ethics. Furthermore, evaluate of such agencies in order advise the Permanent Secretary to prepare a report to the Minister of those state enterprises or public organisations.

                6. Work in collaboration with, or support the work of other relevant agency or assigned by the Permanent Secretary.