การจัดบรรยายเรื่อง "หลักเกณฑ์และวิธีการกรอกแบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิ"

การจัดบรรยายเรื่อง "หลักเกณฑ์และวิธีการกรอกแบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิ"

วันที่นำเข้าข้อมูล 18 ธ.ค. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 6,372 view

            เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม 2561 เวลา 14.30 – 16.30 น. ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) กระทรวงฯ ได้จัดการบรรยาย เรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการกรอกแบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน” ที่ห้องนราธิป โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ในการมอบหมายให้
นายวรัญ มณีศรี เจ้าพนักงานตรวจสอบทรัพย์สินเชี่ยวชาญ เป็นวิทยากร

            การบรรยายในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ข้าราชการกระทรวงฯ ที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเพื่อให้สามารถกรอกแบบฟอร์มและยื่นบัญชีได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้
มีอธิบดี รองอธิบดี ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการกอง เลขานุการกรม และข้าราชการระดับอื่น ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟัง
จำนวนประมาณ 70 คน

            ในการนี้ วิทยากรได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ

            1. ประเภทบุคลากรที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แก่
                        - ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง คือ ปลัดกระทรวงฯ อธิบดี
                        - เจ้าพนักงานของรัฐ คือ รองปลัดกระทรวงฯ รองอธิบดี

            2. กำหนดเวลาในการยื่นฯ คือ เมื่อเข้ารับตำแหน่ง เมื่อครบสามปีที่ดำรงตำแหน่ง เมื่อพ้นราชการ (ลาออก/เกษียณ) และ
เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                        : ให้บุคคลที่ดำรงตำแหน่ง “รองอธิบดี” แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ ณ วันที่ 2 ธันวาคม 2561
โดยการกรอกแบบฟอร์มพร้อมนำส่งเอกสารประกอบต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2561 – 31 มกราคม 2562
จากนั้น ให้แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเมื่อครบสามปีตามที่กฎหมายกำหนด คือ วันที่ 1 ธันวาคม 2564 และทุก ๆ สามปีต่อไป และเมื่อเกษียณ
                        : ให้บุคคลที่ดำรงตำแหน่ง “ปลัดกระทรวงฯ รองปลัดกระทรวงฯ อธิบดี” แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
เมื่อครบสามปีที่ดำรงตำแหน่ง และทุก ๆ สามปีต่อไป และเมื่อเกษียณ
                        : สำหรับบุคลลใดที่จะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “ปลัดกระทรวงฯ รองปลัดกระทรวงฯ อธิบดี รองอธิบดี”
ย่อมมีหน้าที่แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ เมื่อเข้ารับตำแหน่ง เมื่อครบสามปีที่ดำรงตำแหน่ง และทุก ๆ สามปีต่อไป และเมื่อเกษียณ แม้ก่อนหน้านี้อาจเคยแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ เมื่อเข้ารับตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดข้างต้น และต่อมา ไม่ต้องแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเพราะได้รับตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งอื่น เช่น เอกอัครราชทูต เป็นต้น
            3. ทรัพย์สินและหนี้สินที่ต้องแสดง พร้อมทั้งเอกสารประกอบ
            4. บทกำหนดโทษกรณีฝ่าฝืน
            5. วิธีการกรอกแบบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน

ซึ่งผู้เข้าร่วมรับฟังให้ความสนใจซักถามวิทยากรเกี่ยวกับการกรอกแบบฟอร์มและเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก

 

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ